คำอาราธนาศีล

คำอาราธนาศีล  ๕

      มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ   สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ

      ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ   สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ

      ตะติยัมปิ  มะยัง  ภันเต วิสุง วิสุง  รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ

      หมายเหตุ  ถ้าคนเดียวเปลี่ยนเป็น  อะหัง  แทน  มะยัง  และ ยาจามิ แทน  ยาจามะ

คำอาราธนาศีล  ๘

      มะยัง  ภันเต   ติสะระเณนะ  สะหะ  อัฏฐะ  สีลานิ   ยาจามะฯ

      ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  ติสะระเณนะ  สะหะ  อัฏฐะ  สีลานิ           ยาจามะ  ฯ

       ตะติยัมปิ   มะยัง   ภันเต  ติสะระเณนะ  สะหะ  อัฏฐะ   สีลานิ            ยาจามะ  ฯ

      หมายเหตุ  ถ้าคนเดียวเปลี่ยนเป็น  อะหัง  แทน  มะยัง  และ         ยาจามิ  แทน  ยาจามะ

      ต่อจากนี้ให้ว่า  นะโม  ๓  จบ  และกล่าวคำขอไตรสรณะคมไปจนจบ

พิธีรักษาอุโบสถศีล

          หัวหน้าอุบาสกหรืออุบาสิกา  พึงคุกเข่าประนมมือประกาศองค์อุโบสถ  ทั้งคำบาลีและคำไทย ดังนี้

       อัชชะ  โภนโต  ปักขัสสะ อัฏฐะมีทิวะโส (ถ้าวันพระ ๑๔ ค่ำว่า  จาตุททะสีทิวะโส, ๑๕ ค่ำ  ว่า  ปัณณะระสีทิวะโส)   เอวะรูโป  โข โภนโต  ทิวะโส  พุทเธนะ  ภะคะวะตา  ปัญญัตตัสสะ  ธัมมัสสะวะนัสสะ  เจวะตะทัตถายะ  อุปาสะกะอุปาสิกานัง  อุโปสะถัสสะ  จะ กาโล โหติฯ  หันทะ  มะยัง  โภนโต  สัพเพ  อิธะ  สะมาคะตา ตัสสะ  ภะคะวะโต  ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา  ปูชะนัตถายะ  อิมัญจะ  รัตติง  อิมัญจะ  ทิวะสัง  อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง  อุโปสะถัง  อุปะวะสิสสามาติ  กาละปะริจเฉทัง กัต๎วา ตัง ตัง  เวระมะณิง อารัมมะณัง  กะริต๎วา  อะวิกขิตตะจิตตา  หุต๎วา  สักกัจจัง  อุโปสะถัง สะมาทิเยยยามะ ฯ        อีทิสัง  หิ อุโปสะถัง สัมปัตตานัง  อัมหากัง  ชีวิตัง  มา  นิรัตถะกัง  โหตุฯ

คำแปล

       ขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะสมาทานรักษาอุโบสถ  อันพร้อมไปด้วยองค์แปดประการ  ให้สาธุชนที่ได้ตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกันก่อน แต่สมาทาน  ณ บัดนี้  ด้วยวันนี้ เป็นวันอัฏฐะมีดิถีที่แปด (ถ้าวันพระ ๑๔ ค่ำว่า  วันจาตุททะสีดิถีที่สิบสี่, ๑๕ ค่ำว่า วันปัณณะระสีดิถีที่สิบห้า)           แห่งปักษ์มาถึงแล้ว  ก็แหละวันเช่นนี้  เป็นกาลที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้ให้ประชุมกันฟังธรรม  และเป็นกาลที่จะรักษาอุโบสถของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรมนั้นด้วย  เชิญเถิดเราทั้งหลายทั้งปวงที่ได้มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้   พึงกำหนดกาลว่าจะรักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนี้  แล้วพึงทำความเว้นโทษนั้นๆ เป็นอารมณ์ คือ

       ¤  เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑

  • เว้นจากลักฉ้อสิ่งที่เจ้าของเขามิได้ให้ ๑
  • เว้นจากประพฤติกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ๑
  • เว้นจากเจรจาคำเท็จล่อลวงผู้อื่น ๑
  • เว้นจากดื่มสุราเมรัยอันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท ๑
  • เว้นจากบริโภคอาหาร  ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์เที่ยงแล้วไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นมาใหม่ ๑
  • เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ แต่บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่บุญกุศลทั้งสิ้น  และทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม  เครื่องประดับเครื่องทา  เครื่องย้อม  ผัดผิว ทำกายให้วิจิตรงดงามต่างๆ  อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ๑
  • เว้นจากนั่งนอนเหนือเตียงตั่งม้าที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่งที่นอนใหญ่  ภายในมีนุ่นและสำลี  และเครื่องปูลาดที่วิจิตรด้วยเงินและทองต่างๆ ๑

       อย่าให้มีจิตฟุ้งซ่านส่งไปอื่น  พึงสมาทานเอาองค์อุโบสถทั้งแปดประการโดยเคารพ  เพื่อจะบูชาสมเด็จพระผู้มีพระภาค  พระพุทธเจ้านั้น       ด้วยธรรมมานุธรรมปฏิบัติ  อนึ่ง ชีวิตของเราทั้งหลายที่ได้เป็นอยู่รอดมาถึงวันอุโบสถเช่นนี้  จงอย่าได้ล่วงไปเสียเปล่าจากประโยชน์เลย

       (เมื่อหัวหน้าประกาศจบแล้ว  พระสงฆ์ผู้แสดงธรรมขึ้นนั่งบนธรรมาสน์  อุบาสกอุบาสิกพึงนั่งคุกเข่ากราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำอาราธนาอุโบสถศีลพร้อมกัน ว่าดังนี้)

       มะยัง   ภันเต   ติสะระเณนะ  สะหะ  อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง   ยาจามะ  ฯ    (ว่า ๓ จบ)

       ต่อนี้ไป  พึงตั้งใจรับสรณคมน์และศีลโดยเคารพ   

ไตรสรณะคมน์

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

พุทธัง     สะระณัง       คัจฉามิ

ธัมมัง     สะระณัง       คัจฉามิ

สังฆัง      สะระณัง       คัจฉามิฯ

ทุติยัมปิ    พุทธัง     สะระณัง       คัจฉามิ

ทุติยัมปิ    ธัมมัง     สะระณัง       คัจฉามิ

ทุติยัมปิ    สังฆัง      สะระณัง       คัจฉามิฯ

 ตะติยัมปิ    พุทธัง     สะระณัง       คัจฉามิ

ตะติยัมปิ    ธัมมัง     สะระณัง       คัจฉามิ

ตะติยัมปิ    สังฆัง      สะระณัง       คัจฉามิฯ

       จบไตรสรณคมแล้ว พระท่านว่า    ติสะระณะคะมะนัง   นิฏฐิตัง

       ให้รับว่า    อามะ  ภันเตฯ

คำสมาทานศีล  ๕, ๘  และอุโบสถศีล

ปาณาติปาตา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

      ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ  เว้นจากฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง  และ     ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า  (ศีล ๕, ๘)

อะทินนาทานา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

      ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ  เว้นจากลัก,  ฉ้อ   ของผู้อื่นด้วยตนเอง  และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลัก  ฉ้อ  (ศีล ๕, ๘)

กาเมสุ    มิจฉาจารา   เวระมะณี     สิกขาปะทัง    สะมาทิยามิ

      ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย  (ศีล ๕)

อะพ๎รัหมะจะริยา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

      ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากอสัทธรรม  กรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์  (ศีล ๘)

มุสาวาทา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ 

      ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ  เว้นจากพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง  และคำล่อลวงอำพรางผู้อื่น  (ศีล ๕, ๘)

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

      ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มกินสุรา  และเมรัยเครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่างๆ (ศีล ๕, ๘)

(ศีลห้าจบเพียงเท่านี้  ที่เหลือเป็นศีล  ๘)

วิกาละโภชะนา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

      ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท  คือเว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล  คือตั้งแต่หลังเที่ยงไปจนถึงเช้าของวันใหม่

นัจจะ  คีตะ  วาทิตะ  วิสูกะทัสสะนา  มาลาคันธะ  วิเลปะนะ  ธาระณะ  มัณฑะนะ  วิภูสะนัฏฐานา  เวระมะณี สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

      ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ  เว้นจากดู ฟัง ฟ้อนรำ ขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ และดูการเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล และทัดทรงตกแต่งร่างกาย ด้วยเครื่องประดับ และดอกไม้  ของหอม เครื่องทา    เครื่องย้อม  ผัดผิวให้งามต่างๆ

อุจจาสะยะนะ  มะหาสะยะนา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

      ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ  เว้นจากนั่งนอนเหนือเตียงตั่งมีเท้าสูงเกินประมาณ  และที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในใส่นุ่นและ สำลี  อาสนะอันวิจิตรไปด้วยลวดลายงามด้วยเงินทองต่างๆ

      อิมานิ  ปัญจะ สิกขาปะทานิ  สะมาทิยามิ  (ศีล  ๕)  (๓ ครั้ง)

      อิมานิ  อัฏฐะ  สิกขาปะทานิ  สะมาทิยามิ  (ศีล  ๘)  (๓ ครั้ง)

เฉพาะอุโบสถศีล  ก่อนสรุปศีลให้ว่าตามพระทีละวรรค  ดังนี้

       อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,  พุทธะปัญญัตตัง  อุโปสะถัง,  อิมัญจะ  รัตติง  อิมัญจะ ทิวะสัง, สัมมะเทวะ  อะภิรักขิตุง  สะมาทิยามิ  (ว่าตามทีละวรรค)

    (สรุป) อิมานิ  อัฏฐะ สิกขาปะทานิ  อุโปสะถะวะเสนะ มะนะสิกะริตวา สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ

       (พึงรับพร้อมกันว่า)       อามะ ภันเต 

แล้วพระท่านจะกล่าวอานิสงส์แห่งศีลว่า

       สีเลนะ  สุคะติง   ยันติ          สีเลนะ  โภคะสัมปะทา

       สีเลนะ  นิพพุติง  ยันติ          ตัส๎มา  สีลัง   วิโสธะเย ฯ

แล้วพึงกราบพร้อมกัน  ๓ ครั้ง