คำบอกอนุศาสน์

นิสัย ๔

       อะนุญญาสิ  โข  ภะคะวา  อุปะสัมปาเทต๎วา จัตตาโร  นิสสะเย จัตตาริ  จะ  อะกะระณียานิ  อาจิกขิตุงฯ

       ๑. ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง  นิสสายะ  ปัพพัชชา,  ตัตถะ  เต  ยาวะชีวัง  อุสสาโห  กะระณีโย,  อะติเรกะลาโภ,  สังฆะภัตตัง,  อุเทสะภัตตัง,  นิมันตะนัง  สะลากะภัตตัง  ปักขิกัง  อุโปสะถิกัง  ปาฏิปะทิกัง ฯ

       ๒. ปังสุกูละจีวะรัง  นิสสายะ  ปัพพัชชา, ตัตถะ  เต ยาวะชีวัง  อุสสาโห  กะระณีโย  อะติเรกะลาโภ, โขมัง  กัปปาสิกัง  โกเสยยัง กัมพะลัง  สาณัง  ภังคัง ฯ

       ๓. รุกขะมูละเสนาสะนัง  นิสสายะ  ปัพพัชชา, ตัตถะ  เต  ยาวะชีวัง  อุสสาโห  กะระณีโย,  อะติเรกะลาโภ, วิหาโร  อัฑฒะโยโค  ปาสาโท   หัมมิยัง  คุหา ฯ

       ๔.  ปูติมุตตะเภสัชชัง  นิสสายะ  ปัพพัชชา, ตัตถะ  เต  ยาวะชีวัง  อุสสาโห  กะระณีโย,  อะติเรกะลาโภ,   สัปปิ  นะวะนีตัง  เตลัง  มะธุ  ผาณิตัง ฯ

หมายเหตุ  (ถ้าหลายรูปเปลี่ยน เต  เป็น โว)

อกรณียกิจ ๔

        ๑.  อุปะสัมปันเนนะ  ภิกขุนา  เมถุนโน  ธัมโม นะ  ปะฏิเสวิตัพโพ อันตะมะโส  ติรัจฉานะคะตายะปิฯ

       โย  ภิกขุ   เมถุนัง ธัมมัง   ปะฏิเสวะติ, อัสสะมะโณ  โหติ  อะสัก๎ยะปุตติโยฯ

       เสยยะถาปิ นามะ  ปุริโส  สีสัจฉินโน  อะภัพโพ  เตนะ สะรีระพันธะเนนะ  ชีวิตุง,

       เอวะเมวะ ภิกขุ  เมถุนัง  ธัมมัง  ปะฏิเสวิต๎วา,  อัสสะมะโณ  โหติ  อะสัก๎ยะปุตติโยฯ  ตันเต  ยาวะชีวัง   อะกะระณียังฯ

       ๒. อุปะสัมปันเนนะ  ภิกขุนา  อะทินนัง  เถยยะสังขาตัง   นะ  อาทาตัพพัง,  อันตะมะโส  ติณะสะลากัง  อุปาทายะฯ

       โย ภิกขุ  ปาทัง  วา  ปาทาระหัง  วา อะติเรกะปาทัง  วา อะทินนัง  เถยยะสังขาตัง อาทิยะติ ฯ  อัสสะมะโณ  โหติ อะสัก๎ยะปุตติโยฯ

       เสยยะถาปิ  นามะ  ปัณฑุปะลาโส พันธะนา ปะมุตโต  อะภัพโพ หะริตัตตายะฯ

       เอวะเมวะ ภิกขุ  ปาทัง วา ปาทาระหัง  วา อะติเรกะปาทัง วา  อะทินนัง  เถยยะสังขาตัง  อาทิยิต๎วา, อัสสะมะโณ โหติ  อะสัก๎ยะปุตติโย ฯ  ตันเต  ยาวะชีวัง  อะกะระณียังฯ

       ๓. อุปะสัมปันเนนะ  ภิกขุนา สัญจิจจะ  ปาโณ  ชีวิตา  นะ โวโรเปตัพโพฯ  อันตะมะโส  กุนถะกิปิลลิกัง  อุปาทายะฯ

       โย ภิกขุ  สัญจิจจะ  มะนุสสะวิคคะหัง  ชีวิตา  โวโรเปติฯ อันตะมะโส   คัพภะปาตะนัง   อุปาทายะ, อัสสะมะโณ   โหติ  อะสัก๎ยะปุตติโย ฯ

       เสยยะถาปิ นามะ  ปุถุสิลา  ท๎วิธา  ภินนา  อัปปะฏิสันธิกา โหติ,

       เอวะเมวะ  ภิกขุ  สัญจิจจะ  มะนุสสะวิคคะหัง  ชีวิตา  โวโรเปต๎วา, อัสสะมะโณ  โหติ  อะสัก๎ยะปุตติโยฯ  ตันเต  ยาวะชีวัง  อะกะระณียังฯ

       ๔.  อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละปิตัพโพ  อันตะมะโส  สุญญาคาเร  อะภิระมามีติ ฯ

       โย  ภิกขุ  ปาปิจโฉ  อิจฉาปะกะโต  อะสันตัง  อะภูตัง  อุตตะริมะนุสสะธัมมัง  อุลละปะติ, ฌานัง  วา  วิโมกขัง  วา  สะมาธิง  วา สะมาปัตติง  วา  มัคคัง  วา  ผะลัง  วา, อัสสะมะโณ  โหติ  อะสัก๎ยะปุตติโยฯ

       เสยยะถาปิ  นามะ  ตาโล  มัตถะกัจฉินโน  อะภัพโพ  ปุนะ  วิรุฬหิยา,

       เอวะเมวะ ภิกขุ  ปาปิจโฉ  อิจฉาปะกะโต  อะสันตัง  อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง  อุลละปิต๎วา   อัสสะมะโณ  โหติ  อะสัก๎ยะปุตติโย ฯ ตันเต  ยาวะชีวัง  อะกะระณียันติฯ

       อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ  เตนะ  ภะคะวะตา  ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ, สีลัง  สัมมะทักขาตัง  สะมาธิ สัมมะทักขาโต   ปัญญา  สัมมะทักขาตาฯ

       ยาวะเทวะ  ตัสสะ  มะทะนิมมะทะนัสสะ  ปิปาสะวินะยัสสะ อาละยะสะมุคฆาตัสสะ  วัฏฏูปัจเฉทัสสะ  ตัณหักขะยัสสะ  วิราคัสสะ นิโรธัสสะ  นิพพานัสสะ  สัจฉิกิริยายะฯ

       ตัตถะ  สีละปะริภาวิโต  สะมาธิ  มะหัปผะโล  โหติ  มะหานิสังโส สะมาธิปะริภาวิตา  ปัญญา  มะหัปผะลา  โหติ  มะหานิสังสา

       ปัญญาปะริภาวิตัง  จิตตัง  สัมมะเทวะ  อาสะเวหิ  วิมุจจะติ ฯ

       เสยยะถีทัง ฯ กามาสะวา ภะวาสะวา  อะวิชชาสะวา ฯ

       ตัส๎มาติหะ เต  อิมัส๎มิง  ตะถาคะตัปปะเวทิเต  ธัมมะวินะเย,  สักกัจจัง  อะธิสีละสิกขา  สิกขิตัพพา, อะธิจิตตะสิกขา  สิกขิตัพพา, อะธิปัญญาสิกขา สิกขิตัพพา ฯ

       ตัตถะ  อัปปะมาเทนะ  สัมปาเทตัพพัง ฯ

หมายเหตุ  (ถ้าหลายรูปเปลี่ยน  ตันเต  เป็น  ตัง  โว  เปลี่ยน  เต  เป็น  โว)

คำสอนนาคแบบย่อ

        ก.  สอนก่อนจะให้บรรพชา

        บัดนี้  (เธอทั้ง …..)  ได้น้อมนำผ้ากาสายะ  คือ  ผ้าที่เย็บย้อมด้วยน้ำฝาดถูกต้องตามพระธรรมวินัยนิยมบรมพุทธานุญาต เข้ามาในท่ามกลางสงฆ์  เปล่งวาจาขอบรรพชาอุปสมบทโดยมคธภาษา

        ก็แล  การบรรพชาอุปสมบทนั้น  ในเบื้องต้นต้องปลูกศรัทธาปสาทะลงในคุณของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ให้ได้ก่อน

        พระพุทธเจ้า  คือ  พระผู้เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนา  ซึ่งมีพระคุณเป็นอเนกประการ  แต่เมื่อจะกล่าวโดยย่อมี  ๓  คือ  พระปัญญาคุณ  พระบริสุทธิคุณ  พระกรุณาคุณ  กล่าวคือการที่พระองค์ทรงมีพระปัญญาและพระปรีชาสามารถล่วงวิสัยของเทวดา  และมนุษย์ ได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ด้วยพระองค์เองโดยชอบ  ข้อนี้ชื่อว่า “พระปัญญาคุณ”  เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ  ๔  นั้น  ทำให้พระองค์ตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหาน  พระหฤทัยของพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่อง   ข้อนี้ชื่อว่า  “พระบริสุทธิคุณ”  การที่พระองค์ทรงมีพระเมตตาพระกรุณาแก่มวลมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย  ทรงตั้งพระพุทธศาสนาไว้เพื่อให้เกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไพศาล  ข้อนี้ชื่อว่า  “พระกรุณาคุณ”

        พระธรรม  ได้แก่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  ทั้งที่เป็นพระปริยัติสัทธรรม  ปฏิบัติสัทธรรม  และพระปฏิเวธสัทธรรม  อันเป็นธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว  มีอานิสงส์ปกป้องผู้ประพฤติปฏิบัติไม่ให้ตกไปสู่ที่ชั่ว  ให้ผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ  อย่างสูงเป็นเหตุให้บรรลุมรรคผลและนิพพาน  อันเป็นอุดมการณ์สูงสุดของพระพุทธศาสนา

        พระสงฆ์  ได้แก่ผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  และสอนให้ผู้อื่นได้รู้ตาม  พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี  ปฏิบัติตรง  ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง และได้เป็นศาสนทายาท ช่วยกันสืบทอดพระพุทธศาสนามาจนถึงทุกวันนี้

        เมื่อเธอ  (เธอทั้ง …..)  ได้ปลูกศรัทธาปสาทะลงในคุณพระรัตนตรัยอย่างนี้แล้ว  จึงควรได้รับการบรรพชา

        ก่อนแต่จะบรรพชานั้น  ท่านสอนให้เรียนพระกรรมฐานตามแบบโบราณจารย์ที่ได้สอนสืบกันมา  ซึ่งเรียกว่า  “ตจปัญจกกรรมฐาน”   โดยว่าตามดังนี้  เกสา  โลมา  นะขา  ทันตา  ตะโจ  พระกรรมฐานนี้ท่านสอนให้บริกรรมและพิจารณากลับไปกลับมา  ให้เห็นเป็นของไม่ดีไม่งาม  เป็นของปฏิกูล  น่าเกลียด  โสโครก  โดยสี  สัณฐาน  โดยอาการ  ที่อยู่อาศัย

        ผู้จะรับการบรรพชาต้องอาศัยผ้านุ่งผ้าห่มเป็นเครื่องแสดงเพศ  ดังนี้  จะมอบผ้ากาสายะ  คือ  ผ้าสังฆาฏิ  ผ้าอุตตราสงค์  และผ้าอันตรวาสก  ให้แก่เธอเพื่อนำออกไปนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล  แล้วกลับเข้ามาขอรับพระไตรสรณคมน์และศีลให้สำเร็จกิจแห่งการบรรพชาต่อไป

        ข.  สอนในการบอกรับนิสัย

        บัดนี้เธอ  (เธอทั้ง …..)  ได้เข้ามาขอนิสัย  คือขอฝากตัวในฉัน  ให้ฉันรับเป็นพระอุปัชฌาย์  อันพระอุปัชฌาย์นั้น  คือ  พระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ในการให้อุปสมบท  กล่าวคือเป็นผู้ค้ำประกันเธอต่อสงฆ์  ทั้งรับเป็นภาระต่อเธอเมื่ออุปสมบทแล้ว ซึ่งระหว่างเธอกับฉันต้องมีภาระต่อกันฉันบิดากับบุตร โดยฝ่ายฉันต้องรับภาระให้การศึกษาพระธรรมวินัยแก่เธอ ให้การอบรมบ่มนิสัย ให้การปกครองบำบัดทุกข์บำรุงสุข  ให้การสงเคราะห์ด้วยปัจจัย  ๔  ตามสมควร  ส่วนเธอผู้เป็นสัทธิวิหาริกต้องรับภาระต่อพระอุปัชฌาย์  โดยให้ความเคารพนับถือในพระอุปัชฌาย์  รับฟังโอวาท  ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย  ประพฤติปฏิบัติชอบ  ตั้งตนอยู่ในกรอบแห่งพระธรรมวินัยเพื่อความเป็นพระสงฆ์ที่ดีงาม  และปลูกความสนิทสนมฉันบิดากับบุตร

        บัดนี้  พระสงฆ์จะได้ทำการอุปสมบทกรรม  ยกเธอขึ้นเป็นอุปสัมบันน-ภิกขุ  และกรรมวาจาในการอุปสมบทนั้นจะต้องระบุชื่อของเธอผู้เป็นอุปสัมปทาเปกข์  และชื่อของฉันผู้เป็นพระอุปัชฌาย์  ชื่อของเธอเป็นภาษาไทยใช้สวดกรรมวาจามิได้  ดังนั้น  จึงจะตั้งชื่อให้เธอใหม่

        สามเณร …….  ให้ชื่อว่า  “สุภัทโท”  เมื่อท่านสวดถามว่า “กินนาโมสิ”           (เธอชื่ออะไร)  เธอจงตอบว่า  “อะหัง  ภันเต  สุภัทโท  นามะ”  (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  กระผมชื่อ  สุภัททะ)

          สามเณร …….  ให้ชื่อว่า  “ธัมมะธะโร”  เมื่อท่านสวดถามว่า “กินนาโมสิ”          (เธอชื่ออะไร)  เธอจงตอบว่า  “อะหัง  ภันเต  ธัมมะธะโร  นามะ”  (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  กระผมชื่อ  ธัมมะธะระ)

        ส่วนอุปัชฌาย์ของเธอ (เธอทั้ง … ) มีนามตามภาษามคธว่า“ธัมมะกาโม”  เมื่อท่านสวดถามว่า  “โก  นามะ  เต  อุปัชฌาโย”  (อุปัชฌาย์ของเธอชื่ออะไร)      เธอจงตอบว่า  “อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  อายัส๎มา  ธัมมะกาโม  นามะ”    (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  พระอุปัชฌาย์ของกระผมท่านชื่อว่า  ธัมมะกามะ)

        ต่อแต่นี้  จะได้สอนให้รู้จักสมณบริขาร  เพื่อให้อธิษฐาน  และใช้ในกิจของบรรพชิตเมื่ออุปสมบทแล้ว

        แบบอุกาสะ  ว่า  ปะฐะมัง  อุปัชฌัง  คาหาเปตัพโพ // อุปัชฌัง  คาหาเปต๎วา / ปัตตะจีวะรัง  อาจิกขิตัพพันติ  หิทัง  อุปะสัมปะทายะ  ปุริมะกิจจัง  ภะคะวะตา  วุตตัง // ตันทานิ  มะยา  เต  อุปัชฌาเยนะ    สะตา,  ตะทาจิกขะเนนะ  อะนุกาตัพพัง  โหติ // ตันเต  สักกัจจัง  โสตัพพัง  ก่อน  จึงว่า  อะยันเต  ปัตโต …..

        แบบเอสาหัง  ว่า  ปัตโต ……… ไปเลย

พระธรรมปริยัติโสภณ  (วรวิทย์)