วุฏฐานวิธี

วุฏฐานวิธี

ระเบียบ  หรือวิธีออกจากอาบัติสังฆาทิเสส

วุฏฐานวิธีมี  ๔  อย่าง

      ๑. ปริวาส   อยู่ชดใช้ให้ครบวันที่ปิดไว้

      ๒. มานัตต์   นับราตรี  คือ  ๖  ราตรี

      ๓. อัพภาน   การเรียกเข้าหมู่

      ๔. ปฏิกัสสนา   กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิม

      จำนวนสงฆ์  จตุวรรค (๔  รูปขึ้นไป)  สำหรับสวดให้ปริวาสกรรม  และมานัตต์  วีสติวรรค  (๒๐รูปขึ้นไป)  สำหรับสวดให้อัพภาน

ปริวาสมี  ๓  ชนิด

      ๑. ปฏิจฉันนปริวาส  เพื่อครุกาบัติที่ปิดไว้  (จำนวนเดียว)

      ๒. สโมธานปริวาส   มากกว่าจำนวนเดียว  ปิดไว้ต่างคราว  ต่างจำนวนต่างวัตถุกัน  แบ่งออกเป็น  ๓  อย่าง

             ๒.๑ โอธานสโมธาน       อาบัติมากกว่าจำนวนเดียว  ปิดไว้เท่ากัน

             ๒.๒ อัคฆสโมธาน อาบัติมากกว่าจำนวนเดียว  ปิดไว้ไม่เท่ากัน

             ๒.๓ มิสสกสโมธาน        อาบัติต่างวัตถุกัน  เช่น  ต้องข้อ ๑ – ๒ –  ๓  ปิดเสมอกัน  และไม่เสมอกัน

      ๓. สุทธันตปริวาส   อยู่ไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์  แบ่งออกเป็น  ๒  อย่าง

             ๓.๑ จุลลสุทธันตะ สำหรับผู้จำ  จำนวนอาบัติ และราตรีได้บ้าง  ไม่ได้บ้าง

             ๓.๒ มหาสุทธันตะ สำหรับผู้จำ  จำนวนอาบัติ  และราตรี   ไม่ได้เลย

วุฏฐานวิธีสำหรับอันตราบัติ

      อันตราบัติ  คือ  อาบัติที่ต้องในระหว่างประพฤติวุฏฐานวิธี  การกลับประพฤติวุฏฐานวิธีตั้งแต่ต้นไปใหม่นั้นเรียกว่า “มูลายปฏิกัสสนา”

อันตราบัติที่ภิกษุต้องนั้นจำแนกออกเป็น  ๔  ประเภท

      ๑. กำลังประพฤติมานัตต์อยู่  หรือประพฤติมานัตต์แล้ว  เป็นอัพภานารหภิกขุ ต้องอาบัติเข้าไม่ได้ปิดไว้  พึงขอปฏิกัสสนาต่อสงฆ์  ให้ปฏิกัสสนาแล้ว  พึงขอมานัตต์อยู่นับตั้งต้นไปใหม่

      ๒.  กำลังอยู่ปริวาส  หรือประพฤติปริวาสแล้ว  เป็นมานัตตารหภิกษุ  ต้องอาบัติเข้า แต่ไม่ได้ปิดไว้  พึงขอปฏิกัสสนาต่อสงฆ์  สงฆ์ให้ปฏิกัสสนาแล้ว  พึงอยู่ปริวาสตั้งต้นไปใหม่

      ๓.  อยู่ปริวาสแล้ว  กำลังประพฤติมานัตต์  หรือ ประพฤติมานัตต์แล้ว  เป็นอัพภานารหภิกษุ  ต้องอันตราบัติ แต่ไม่ได้ปิดไว้   พึงขอปฏิกัสสนาต่อสงฆ์  สงฆ์ให้ปฏิกัสสนาแล้ว  ไม่ต้องอยู่ปริวาสซ้ำ  ขอมานัตต์เลย

      ๔.  กำลังอยู่ปริวาส  หรืออยู่ปริวาสแล้ว  กำลังประพฤติมานัตต์  หรือประพฤติมานัตต์แล้ว  เป็นอัพภานารหะ  ต้องครุกาบัติแล้ว  “ปิดไว้”    พึงขอปฏิกัสสนาต่อสงฆ์  ฯลฯ     พึงขอสโมธาน  หรือ ตามลักษณะ-ที่ต้อง  ฯลฯ  แล้วประพฤติตั้งต้นไปใหม่  (รวมอาบัติที่ปิดไว้เดิมและใหม่      เข้าด้วยกัน)  ที่อยู่มาเป็นโมฆะทั้งสิ้น

      วุฏฐานวิธี   ต้องทำให้ถูกระเบียบตั้งแต่ต้นจนจบ  ถ้าทำผิดเป็นเสียใช้ไม่ได้  ต้องทำใหม่ตั้งแต่ตอนที่ทำไม่ถูก

รัตติเฉทแห่งปริวาสมี  ๓  มานัตมี  ๔

       ๑. สหวาโส   อยู่ร่วมชายคากับปกตัตตะภิกษุ

      ๒. วิปฺปวาโส   ปริวาส    อยู่ปราศจากภิกษุ  มานัตต์   อยู่ปราศจากสงฆ์

      ๓. อนาโรจนา    ไม่บอกวัตรที่ตนเองกำลังประพฤติอยู่  มานัตต์ต้องบอกทุกวัน  ปริวาส  ๑๕  วันจึงบอกก็ได้

      ๔. อูเน  คเณ  จรณํ   ประพฤติในคณะอันพร่อง  ได้แก่มีสงฆ์ครบอยู่แต่รูปหนึ่งต้องอาบัติปาราชิก

วัตรของมานัตต์ – ปริวาส  มี  ๑๐  หมวด

      ๑. ห้ามไม่ให้ทำการในหน้าที่พระเถระ (ไม่พึงให้นิสัย, ไม่พึงมีสามเณรไว้อุปัฏฐาก , ไม่พึงสอนภิกษุณี)

      ๒.  ให้ตั้งอยู่ในความระมัดระวัง  (ไม่พึงต้องครุกาบัติซ้ำอีก)

      ๓. ห้ามไม่ให้ถือสิทธิ์แห่งปกตัตตะภิกขุ  (ไม่พึงติกรรม – ห้ามอุโบสถ –   ห้ามปวารณา – ก่ออธิกรณ์  ฯลฯ)

      ทั้ง  ๓  หมวดนี้ในบาลีท่านรวมเป็นหมู่เดียวกัน

      ๔.  ห้ามสิทธิอันจะพึงถือเอาโดยลำดับพรรษา  (ไม่นั่งข้างหน้า – ควรพอใจ ที่นั่ง – ที่นอน – กุฏิ  สุดท้าย)

      ๕.  ห้ามไม่ให้เชิดตัว  และให้ระวังเพื่อเป็นอย่างนั้น  (ปุเรสมณะ คือ 

นำหน้า  ปัจฉาสมณะ  คือ  ตามหลัง  ไม่ถือสมาทานอรัญญิกะธุดงค์        

ปิณฑิปาติกะธุดงค์  และไม่พึงให้เขานำอาหารมาให้ด้วยคิดว่าเขาอยู่หน้าเรา)

      ๖. ให้บอกประจานตัว

      ๗.  ห้ามวิปปวาส  (เว้นอันตราย  ๑๐)  เป็นรัตติเฉทด้วย 

(บาลีแยกเป็น  ๓  ตอน  ไม่มีแต่สมานสังวาส)

      ๘. ห้ามสมโภคกับปกตัตะภิกขุ  เป็นรัตติเฉทด้วย

      ๙. ให้แสดงสามีจิกรรมแก่ปกตัตตะภิกขุ  ห้ามสมโภคก็มี  (นั่งอาสนะ

เดียวกัน – เดินจงกรมฯ  ห้ามสมโภคส่วนที่เหลือจากนั้นเป็นให้แสดงสามีจิกรรม)

      ข้อ  ๘ – ๙  ในบาลีรามเป็นหมวดเดียวกัน

      ๑๐. ห้ามสมโภคกับภิกษุที่ประพฤติวุฏฐานวิธีด้วยกัน  แต่มีข้อให้แสดงสามีจิกรรมแก่เธอทั้งหลายด้วย