วิธีบรรพชาอุปสมบทแบบเอสาหัง

คำขอบรรพชาแบบนาคเดี่ยว

       เอสาหัง  ภันเต/  สุจิระปะรินิพพุตัมปิ/  ตัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คัจฉามิ/ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ/  ละเภยยาหัง  ภันเต/  ตัสสะ   ภะคะวะโต  ธัมมะวินะเย/   ปัพพัชชัง   ละเภยยัง  อุปะสัมปะทัง//

       ทุติยัมปาหัง  ภันเต/  สุจิระปะรินิพพุตัมปิ/  ตัง ภะคะวันตัง   สะระณัง  คัจฉามิ/  ธัมมัญจะ  ภิกขุสังฆัญจะ/  ละเภยยาหัง  ภันเต/   ตัสสะ ภะคะวะโต  ธัมมะวินะเย/  ปัพพัชชัง  ละเภยยัง  อุปะสัมปะทัง//

       ตะติยัมปาหัง  ภันเต/  สุจิระปะรินิพพุตัมปิ/ ตัง  ภะคะวันตัง   สะระณัง  คัจฉามิ/  ธัมมัญจะ  ภิกขุสังฆัญจะ/  ละเภยยาหัง  ภันเต/  ตัสสะ  ภะคะวะโต  ธัมมะวินะเย/   ปัพพัชชัง  ละเภยยัง  อุปะสัมปะทัง//

       อะหัง ภันเต/ ปัพพัชชัง ยาจามิ/  อิมานิ  กาสายานิ  วัตถานิ  คะเหต๎วา/  ปัพพาเชถะ  มัง   ภันเต/  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ//

       ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต/ ปัพพัชชัง  ยาจามิ/   อิมานิ  กาสายานิ  วัตถานิ  คะเหต๎วา/   ปัพพาเชถะ  มัง   ภันเต/  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ//

       ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต/ ปัพพัชชัง  ยาจามิ/   อิมานิ  กาสายานิ  วัตถานิ  คะเหต๎วา/   ปัพพาเชถะ  มัง   ภันเต/   อะนุกัมปัง  อุปาทายะ/

หมายเหตุ  ถ้าบรรพชาเป็นสามเณร  ให้ยกคำว่า  ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง  ออกเสีย

ตะจะปัญจะกะกัมมัฏฐาน

ให้ว่าตามไปทีละบท  โดยอนุโลมและปฏิโลม  ดังนี้

       เกสา/  โลมา/  นะข/า  ทันตา/  ตะโจ/  (อนุโลม คือว่าตามลำดับ)

       ตะโจ/  ทันตา/  นะขา/  โลมาเกสา/  (ปฏิโลม คือว่าทวนลำดับ)

คำขอสรณะและศีล ดังนี้

อะหัง  ภันเต/  สะระณะสีลัง  ยาจามิ//

ทุติยัมปิ   อะหัง  ภันเต/  สะระณะสีลัง  ยาจามิ//

 ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต/  สะระณะสีลัง  ยาจามิ//

ปุพพภาคนมการะ

       นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ  (ว่า ๓ หน)

        แต่นั้นท่านจะสั่งด้วยคำว่า  เอวัง  วะเทหิ  หรือ ยะมะหัง  วะทามิ         ตัง  วะเทหิ  พึงรับว่า  อามะ  ภันเต  

       ครั้นแล้ว  ท่านนำให้เปล่งวาจาว่าสรณะคมน์ตามไปทีละพากย์ดังนี้

พุทธัง      สะระณัง     คัจฉามิ//

ธัมมัง       สะระณัง     คัจฉามิ//

สังฆัง       สะระณัง     คัจฉามิ//

           ทุติยัมปิ       พุทธัง      สะระณัง     คัจฉามิ//

ทุติยัมปิ       ธัมมัง       สะระณัง     คัจฉามิ//

ทุติยัมปิ       สังฆัง       สะระณัง     คัจฉามิ//

ตะติยัมปิ       พุทธัง      สะระณัง     คัจฉามิ//

ตะติยัมปิ       ธัมมัง       สะระณัง     คัจฉามิ//

ตะติยัมปิ       สังฆัง       สะระณัง     คัจฉามิ//

         เมื่อจบแล้ว   ท่านบอกว่า     ติสะระณะคะมะนัง   นิฏฐิตัง  พึงรับว่า  อามะ ภันเต  การบรรพชาเป็นสามเณรสำเร็จด้วยสรณะคมน์        เพียงเท่านี้  แล้วพึงสมาทานสิกขาบท  ๑๐  ประการ  ว่าตามท่านไปดังนี้

    ปาณาติปาตา  เวระมะณี//

    อะทินนาทานา  เวระมะณี//

    อะพ๎รัหมะจะริยา  เวระมะณี//

    มุสาวาทา  เวระมะณี//

    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี//

    วิกาละโภชะนา   เวระมะณี//

    นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา  เวระมะณี//

    มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา  เวระมะณี//

    อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา  เวระมะณี//

    ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา  เวระมะณี//

     (สรุป)  อิมานิ ทะสะ  สิกขาปะทานิ  สะมาทิยามิ ฯ  (ว่า ๓ หน)

    ในลำดับนั้น  สามเณรพึงรับบาตรแล้วอุ้มบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์     ในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย  รับเครื่องสักการะแล้วน้อมถวายท่านแล้ว กราบ  ๓ หน  นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอนิสัย  ว่าดังนี้

อะหัง  ภันเต   นิสสะยัง   ยาจามิ//

ทุติยัมปิ    อะหัง  ภันเต   นิสสะยัง   ยาจามิ//

ตะติยัมปิ   อะหัง  ภันเต   นิสสะยัง   ยาจามิ//

         แล้วว่า     อุปัชฌาโย   เม     ภันเต   โหหิ  (ว่า ๓ หน)

      พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปะฏิรูปัง, โอปายิกัง, ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ  ทีละบท  พึงรับว่า  สาธุ ภันเต  ทุกบทไป  แต่นั้น         สามเณรพึงกล่าวรับเป็นธุระให้ท่านว่าดังนี้

       อัชชะตัคเคทานิ  เถโร/  มัยหัง  ภาโร/  อะหัมปิ  เถรัสสะ  ภาโร// 

(ว่า ๓  หน  เสร็จแล้วกราบลง ๓ หน)

       ลำดับนั้น  พระอุปัชฌาย์แนะนำสามเณรไปตามระเบียบแล้ว  พระอาจารย์ผู้เป็นกรรมวาจา  เอาบาตรมีสายคล้องตัวผู้มุ่งอุปสมบท  บอกบาตรและจีวร  ผู้มุ่งอุปสมบทพึงรับว่า อามะ ภันเต   ๔  หนดังนี้

คำบอกบาตรและจีวร

คำบอก                               คำรับ

อะยันเต  ปัตโต                 อามะ  ภันเต//

อะยัง  สังฆาฏิ                  อามะ  ภันเต//

อะยัง  อุตตะราสังโค           อามะ  ภันเต//

อะยัง  อันตะระวาสะโก        อามะ  ภันเต//

       ต่อจากนั้นพระอาจารย์ท่านบอกให้ออกไปข้างนอกว่า  คัจฉะ         อะมุมหิ  โอกาเส ติฏฐาหิ   พึงถอยออกลุกขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้

พระอาจารย์ท่านสวดถามอันตรายิกธรรมดังนี้

ถาม                                         ตอบ

กุฏฐัง                                     นัตถิ  ภันเต//

คัณโฑ                                    นัตถิ  ภันเต//

กิลาโส                                   นัตถิ  ภันเต//

โสโส                                     นัตถิ  ภันเต//

อะปะมาโร                               นัตถิ  ภันเต//

มะนุสโสสิ๊                                อามะ  ภันเต//

ปุริโสสิ๊                                   อามะ  ภันเต//

ภุชิสโสสิ๊                                 อามะ  ภันเต//

อะนะโณสิ๊                               อามะ  ภันเต//

นะสิ๊  ราชะภะโฏ                        อามะ  ภันเต//

อะนุญญาโตสิ๊  มาตาปิตูหิ             อามะ  ภันเต//

ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊                อามะ  ภันเต//

ปะริปุณณันเต  ปัตตะจีวะรัง           อามะ  ภันเต//

กินนาโมสิ                               อะหัง  ภันเต  ……  นามะ//

โก นามะ เต อุปัชฌาโย                อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัส๎มา….นามะ//

       ถ้าตอบพร้อมกันให้เปลี่ยน  เม เป็น โน   ช่องที่ …….ไว้   พระอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ท่านจะตั้งชื่อเอง อุปสัมปทาเปกขะกรอกลงช่องให้ไว้ก่อนวันบวช  และช่องที่ … ไว้ในช่องชื่อของพระอุปัชฌาย์   ก็เช่นเดียวกัน  ให้กรอกตามชื่อของพระอุปัชฌาย์  ซึ่งท่านจะบอกและกรอกให้ไว้ก่อนวันบวช

       ครั้นสวดสอนซ้อมแล้ว  ท่านกลับเข้ามาสวดเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้ามา  อุปสัมปทาเปกขะ  พึงเข้ามาในสังฆสันนิบาต  กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์  ๓ หน  แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ  เปล่งวาจาขออุปสมบท  ว่าดังนี้

       สังฆัมภันเต/  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ//  อุลลุมปะต  มัง  ภันเตสังโฆ  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ/

       ทุติยัมปิ  ภันเต/  สังฆัง อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ//  อุลลุมปะตุ     มัง  ภันเต/  สังโฆ อะนุกัมปัง  อุปาทายะ//

       ตะติยัมปิ  ภันเต/ สังฆัง  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ// อุลลุมปะตุ      มัง  ภันเตสังโฆ  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ//

        ถ้าว่าพร้อมกันให้เปลี่ยน  ยาจามิ  เป็น  ยาจามะ  เปลี่ยน  มัง  เป็น โน

       ในลำดับนั้น พระอุปัชฌาย์กล่าวเผดียงสงฆ์แล้ว  และพระอาจารย์สวดสมมติตน ถามอันตรายิกธรรมอุปสัมปทาเปกขะ  พึงรับว่า นัตถิ  ภันเต  ๕  หน   อามะ  ภันเต   ๘  หน  ตอบชื่อตน และชื่ออุปัชฌาย์   รวม  ๒  หนโดยนัยก่อน  แต่นั้นพึงนั่งฟังท่านสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ

       ครั้นจบแล้วท่านเอาบาตรออกจากตัว  แล้วพึงกราบ  ๓ หน  นั่งพับเพียบประนมมือนั่ง  พระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบแล้วรับว่า    อามะ   ภันเต  แล้วกราบ  ๓ หน  ถวายไทยทาน  กรวดน้ำ เป็นอันเสร็จ

คำขอบรรพชาแบบนาคคู่

       เอเต มะยัง  ภันเต/  สุจิระปะรินิพพุตัมปิ/  ตัง ภะคะวันตัง  สะระณัง คัจฉามะ/  ธัมมัญจะ  ภิกขุสังฆัญจะ//   ละเภยยามะ  มะยัง  ภันเต/  ตัสสะ  ภะคะวะโต  ธัมมะวินะเย/  ปัพพัชชัง  ละเภยยามะ  อุปะสัมปะทัง//

       ทุติยัมปิ   มะยัง  ภันเต/  สุจิระปะรินิพพุตัมปิ/  ตัง ภะคะวันตัง    สะระณัง คัจฉามะ/  ธัมมัญจะ  ภิกขุสังฆัญจะ// ละเภยยามะ  มะยัง  ภันเต/  ตัสสะ  ภะคะวะโต  ธัมมะวินะเย/  ปัพพัชชัง  ละเภยยามะ   อุปะสัมปะทัง//

       ตะติยัมปิ    มะยัง  ภันเต/  สุจิระปะรินิพพุตัมปิ/  ตัง ภะคะวันตัง  สะระณัง คัจฉามะ/  ธัมมัญจะ  ภิกขุสังฆัญจะ// ละเภยยามะ  มะยัง  ภันเต/  ตัสสะ  ภะคะวะโต  ธัมมะวินะเย/  ปัพพัชชัง  ละเภยยามะ  อุปะสัมปะทัง//

       มะยัง  ภันเต/ ปัพพัชชัง ยาจามะ// อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ  คะเหต๎วา/ ปัพพาเชถะ  โน  ภันเต/  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ// 

       ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต/ ปัพพัชชัง  ยาจามะ// อิมานิ  กาสายานิ  วัตถานิ   คะเหต๎วา/  ปัพพาเชถะ โน  ภันเต/  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ//

       ตะติยัมปิ  มะยัง ภันเต/ ปัพพัชชัง  ยาจามะ// อิมานิ  กาสายานิ   วัตถานิ  คะเหต๎วา/   ปัพพาเชถะ  โน ภันเต/  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ//

คำขอนิสสัยนาคคู่

มะยัง  ภันเต/   นิสสะยัง   ยาจามะ//

ทุติยัมปิ   มะยัง  ภันเต    นิสสะยัง   ยาจามะ//

ตะติยัมปิ   มะยัง  ภันเต/   นิสสะยัง   ยาจามะ//

อุปัชฌาโย  โน  ภันเต  โหหิ//  (ว่า ๓ ครั้ง)

อัชชะตัคเคทานิ  เถโร/ อัมหากัง  ภาโร/  มะยัมปิ  เถรัสสะ  ภารา//   (ว่า ๓ ครั้ง)

คำขออุปสมบทพร้อมกัน

       สังฆัมภันเต/  อุปะสัมปะทัง  ยาจามะ// อุลลุมปะตุ  โน ภันเต/  สังโฆ  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ//

       ทุติยัมปิ  ภันเต/  สังฆัง อุปะสัมปะทัง  ยาจามะ// อุลลุมปะตุ   โน  ภันเต/  สังโฆ  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ//

       ตะติยัมปิ  ภันเต/ สังฆัง  อุปะสัมปะทัง ยาจามะ// อุลลุมปะตุ   โน ภันเต/  สังโฆ  อะนุกัมปัง  อุปาทายะ//

จบวิธีอุปสมบทแบบเอสาหัง

ตัวอย่างวิธีคิดอายุผู้จะอุปสมบท

       นายสันติ์  สันติกร  เกิดวันศุกร์ที่  ๑๓  มีนาคม  ๒๕๐๗  มีความประสงค์จะอุปสมบทในวันที่  ๓๑  มกราคม  ๒๕๒๘  มีวิธีคิดอายุ  ดังนี้