มงคลสูตร

มงคลสูตร

(นำ)       หันทะ  มะยัง  มังคะละสุตตะคาถาโย  ภะณามะ  เส  ฯ

เอวัมเม   สุตัง   เอกัง   สะมะยัง 

    ในสมัยหนึ่ง  พระอานนท์เถระเจ้า  ได้สดับมาว่า

ภะคะวา  สาวัตถิยัง  วิหะระติ  เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ   อาราเม

    พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ในพระเชตวนารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐีในกรุงสาวัตถี

อะถะโข   อัญญะตะรา    เทวะตา

    ครั้งนั้นแล  เทพยดา องค์ใดองค์หนึ่ง

อะภิกกันตายะ  รัตติยา  อะภิกกันตะวัณณา

    มีรัศมีงามยิ่ง  เมื่อราตรีปฐมยามผ่านไปแล้ว

เกวะละกัปปัง  เชตะวะนัง  โอภาเสต๎วา

    ยังพระเชตวันทั้งสิ้น  ให้สว่างไสวทั่วแล้ว

เยนะ ภะคะวา  เตนุปะสังกะมิ

    ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า  จนถึงที่ประทับ

อุปะสังกะมิต๎วา  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทต๎วา  เอกะมันตัง อัฏฐาสิ

    ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว  จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่        ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เอกะมันตัง  ฐิตา  โข สา เทวะตา

ภะคะวันตัง  คาถายะ  อัชฌะภาสิ

    แล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า  ด้วยคาถาว่า

พะหู  เทวา  มะนุสสา  จะ 

    เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

มังคะลานิ  อะจินตะยุง  อากังขะมานา  โสตถานัง

    ผู้หวังความสวัสดี  ได้พากันคิดถึงมงคล  คือ เหตุให้ถึงความเจริญทั้งหลาย

พ๎รูหิ  มังคะละมุตตะมัง

    ขอพระองค์  จงตรัสบอกมงคลอันสูงสุดด้วยเถิด  ดังนี้

(พระผู้มีพระถาคเจ้าตรัสตอบว่า)

อะเสวะนา จะ  พาลานัง          

    การไม่คบคนพาลทั้งหลาย

ปัณฑิตานัญจะ  เสวะนา              

    การคบแต่บัณฑิตทั้งหลาย

ปูชา  จะ  ปูชะนียานัง                

    การบูชาคนที่ควรบูชา

เอตัมมังคะละมุตตะมัง                

    ๓  ข้อนี้  เป็นมงคลอันสูงสุด

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ                

    การอยู่ในประเทศอันสมควร

ปุพเพ  จะ กะตะปุญญะตา           

    ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำไว้แล้วในกาลก่อน

อัตตะสัมมาปะณิธิ  จะ                

    การตั้งตนไว้โดยชอบธรรม

เอตัมมังคะละมุตตะมัง                

    ๓  ข้อนี้  เป็นมงคลอันสูงสุด

พาหุสัจจัญจะ  สิปปัญจะ             

    ความเป็นผู้เรียนรู้มาก  การมีศิลปะวิทยา

วินะโย  จะ สุสิกขิโต                  

    ความเป็นผู้มีระเบียบวินัยดี

สุภาสิตา  จะ ยา  วาจา               

    การพูดแต่วาจาที่ดี

เอตัมมังคะละมุตตะมัง                

    ๔  ข้อนี้  เป็นมงคลอันสูงสุด

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง                    

    การบำรุงบิดา  มารดา

ปุตตะทารัสสะ  สังคะโห              

    การสงเคราะห์บุตรการสงเคราะห์ภรรยา

อะนากุลา  จะ  กัมมันตา             

    การเป็นผู้ทำงานไม่คั่งค้าง

เอตัมมังคะละมุตตะมัง                

    ๔  ข้อนี้  เป็นมงคลอันสูงสุด

ทานัญจะ  ธัมมะจะริยา  จะ          

    การให้ทาน การประพฤติธรรมคือกุศลกรรมบถ  ๑๐

ญาตะกานัญจะ  สังคะโห             

    การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย

อะนะวัชชานิ กัมมานิ                 

    การทำงานที่ปราศจากโทษ

เอตัมมังตะละมุตตะมัง                

    ๔  ข้อนี้  เป็นมงคลอันสูงสุด

อาระตี  วิระตี  ปาปา                 

    การงดเว้นจากความชั่ว

มัชชะปานา  จะ สัญญะโม           

    การละเว้นจากการดื่มน้ำเมา

อัปปะมาโท  จะ  ธัมเมสุ              

    การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

เอตัมมังคะละมุตตะมัง                

    ๓  ข้อนี้  เป็นมงคลอันสูงสุด

คาระโว จะ  นิวาโต  จะ              

    การมีสัมมาคารวะ  การอ่อนน้อมถ่อมตน

สันตุฏฐี  จะ กะตัญญุตา              

    มีความสันโดษ  มีความกตัญญู

กาเลนะ  ธัมมัสสะวะนัง              

    การฟังธรรมตามกาลเวลา

เอตัมมังคะละมุตตะมัง                

    ๕  ข้อนี้  เป็นมงคลอันสูงสุด

ขันตี  จะ โสวะจัสสะตา               

    มีความอดทน ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย

สะมะณานัญจะ  ทัสสะนัง            

    การได้พบเห็นสมณะ  คือผู้สงบระงับ

กาเลนะ  ธัมมะสากัจฉา              

    การสนทนาธรรมตามกาลเวลา

เอตัมมังคะละมุตตะมัง                

    ๔  ข้อนี้  เป็นมงคลอันสูงสุด

ตะโป  จะ พ๎รัหมะจะริยัญจะ         

    มีความเพียรเครื่องเผากิเลส การประพฤติพรหมจรรย์

อะริยะสัจจานะ  ทัสสะนัง            

    การเห็นอริยะสัจทั้งหลาย

นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ                

    การทำพระนิพพานให้แจ้ง

เอตัมมังคะละมุตตะมัง                

    ๔  ข้อนี้  เป็นมงคลอันสูงสุด

ผุฏฐัสสะ  โลกะธัมเมหิ  จิตตัง  ยัสสะ  นะ กัมปะติ  

    จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งแปด

อะโสกัง  วิระชัง  เขมัง                

    จิตไม่เศร้าโศก จิตหมดธุลี คือ กิเลส  จิตถึงความเกษม  คือปลอดจากโยคะกิเลสทั้งปวง

เอตัมมังคะละมุตตะมัง                

    ๔  ข้อนี้  เป็นมงคลอันสูงสุด

เอตาทิสานิ  กัต๎วานะ  สัพพัตถะมะปะราชิตา

 สัพพัตถะ  โสตถิง   คัจฉันติ

    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  พากันปฏิบัติมงคลธรรมเช่นนี้แล้ว      ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ข้าศึกทุกหมู่เหล่า  ย่อมถึงความสุขสวัสดี     ในที่ทุกสถาน  ในกาลทุกเมื่อ

ตันเตสัง  มังคะละมุตตะมันติ.

    ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด  ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น    ด้วยประการฉะนี้ ฯ