ติรัจฉานภูมิ

ติรัจฉานภูมิ

    ภูมิสัตว์ที่ไปตามขวาง  สัตว์ดิรัจฉานนั้น ถึงแม้จะมีกายหลายรูปแบบ แยกเป็นสัตว์บก  สัตว์น้ำ  ครึ่งบกครึ่งน้ำ  มีเท้า  มีปีก  และไม่มีปีกก็ตาม  แต่อาจแบ่งได้โดยสรุปเป็น  ๔  ประเภท

      (๑)  อปทะ   ไม่มีขา  ไม่มีเท้า  เช่น  งู  ปลา  ใส้เดือน  เป็นต้น

      (๒)  ทวิปทะ    มี  ๒  ขา  ๒  เท้า  เช่น  ไก่  เป็ด  นก  เป็นต้น

      (๓)  จตุปปทะ   มี ๔ ขา ๔ เท้า  เช่น  ช้าง   ม้า  โค  เป็นต้น

      (๔)  พหุปปทะ   มีเท้ามาก  เช่น  กุ้ง  ปู  กิ้งกือ  เป็นต้น

      พวกสัตว์ติรัจฉานนั้นมีความจำได้หมายรู้เพียง  ๓  อย่าง  คือ

      (๑)  กามสัญญา      รู้จักเสพกามเพื่อสืบพันธุ์

      (๒)  อาหารสัญญา   หรือ  โคจรสัญญา  จำได้หมายรู้เรื่องอาหาร  คือรู้จักกินอาหาร  แสวงหาอาหาร  หลับนอน

      (๓)  มรณะสัญญา    จำได้หมายรู้เรื่องความตาย  คือ  รู้จักกลัวตาย  และอายุสั้นพลันตาย  ถึงแม้บางพวกจะมีความเป็นอยู่สบาย  มีอาหาร  มีที่อยู่อย่างดีก็ตาม

         เหตุที่นำไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานโดยมากได้แก่โมหะ  มีหลักฐานปรากฏอยู่ใน  อัฏฐกถา  อัฏฐสาลินี  ว่า

“โมเหน  หิ  นิจฺจํ  สมฺมุฬฺหํ  ติรจฺฉานโยนึ   อุปฺปชฺชนฺติ”

           จริงอยู่  สัตว์ทั้งหลายตายไปเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน  ซึ่งมีความลุ่มหลงเป็นนิจ  ก็เพราะโมหะเป็นตัวนำไป  (ตัวอย่างนายโกตุหลิกะ)